เมนู

อรรถกถาโสปากเถรคาถาที่ 4



คาถาของท่านพระโสปากเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ทิสฺวา ปาสาท-
ฉายายํ
ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าปางก่อน
ทั้งหลาย สั่งสมบุญทั้งหลายไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า สิทธัตถะ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ รู้เดียงสาแล้ว ถึงความ
สำเร็จในวิชาและศิลปะทั้งหลายของพวกพราหมณ์ เห็นโทษในกาม จึง
ละการครองเรือนบวชเป็นดาบสอยู่ ณ ภูเขาลูกหนึ่ง.
พระศาสดาทรงทรามว่าดาบสนั้นใกล้จะมรณะ จึงได้เสด็จเข้าไปยัง
สำนักของท่าน. ดาบสนั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วมีจิตเลื่อมใส เมื่อ
จะประกาศความปีติและปราโมทย์อันยิ่งใหญ่ จึงได้ตกแต่งอาสนะดอกไม้
ถวาย. พระศาสดาประทับนั่งบนอาสนะนั้นแล้ว ตรัสธรรมีกถาอันสัมปยุต
ด้วยอนิจจตา เมื่อพระดาบสนั้นเห็นอยู่นั่นแล ได้เสด็จไปทางอากาศ.
ดาบสนั้นละการยึดถือว่าเที่ยงที่ตนเคยถือในกาลก่อน แล้วตั้งอนิจจสัญญา
ไว้ในหทัย กระทำกาละแล้วได้เกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่
ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในโสปาก-
กำเนิด1 ในเมืองราชคฤห์. ปรากฏโดยชื่ออันมีมาโดยกำเนิดว่า โสปากะ.
ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ท่านเกิดในตระกูลพ่อค้า ส่วนคำว่าโสปากะ
เป็นแต่เพียงชื่อ. คำนั้นผิดจากบาลีในอุทาน เพราะกล่าวไว้ว่า เมื่อถึง
ภพสุดท้าย เราเกิดในกำเนิดโสปากะ ดังนี้. เมื่อเขาเกิดได้ 4 เดือน
บิดาก็ตาย อาจึงเลี้ยงไว้. ท่านเกิดได้ 7 ปีโดยลำดับ วันหนึ่ง อา

1. ผู้เกิดและเติบโตในป่าช้า.

โกรธว่า ทะเลาะกับลูกของตน จึงนำเขาไปยังป่าช้า เอาเชือกผูกมือทั้ง
สองข้างเข้าด้วยกัน แล้วเชือกนั้นนั่นแหละผูกมัดอย่างแน่นหนาติดกับร่าง
ของคนตาย แล้วก็ไปเสียด้วยคิดว่า สุนัขจิ้งจอกเป็นต้นจงกัดกิน. เพราะ
เด็กนั้นเป็นผู้มีภพครั้งสุดท้าย เขาไม่อาจให้ตายได้เอง เพราะผลบุญของ
เด็ก แม้สัตว์ทั้งหลายมีสุนัขจิ้งจอกเป็นต้นก็ไม่อาจครอบงำได้. ในเวลา
เที่ยงคืนเด็กนั้นเพ้ออยู่ว่า
คติของเราผู้ไม่มีคติจะเป็นอย่างไร หรือเผ่าพันธุ์ของ
เรา ผู้ไม่มีเผ่าพันธุ์จะเป็นใคร ใครจะเป็นผู้ให้อภัยแก่
เรา ผู้ถูกผูกอยู่ในท่ามกลางป่าช้า.

ในเวลานั้น พระศาสดาทรงตรวจดูเวไนยสัตว์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ ทรง
เห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตอันโพลงอยู่ในภายในหทัยของเด็ก จึงทรงแผ่
พระโอภาสทำให้เกิดสติแล้วตรัสอย่างนี้ว่า
มาเถิดโสปากะ อย่ากลัว จงแลดูตถาคต เราจะยัง
เธอให้ข้ามพ้นไป ดุจพระจันทร์พ้นจากปากราหูฉะนั้น.

ทารกตัดเครื่องผูกให้ขาดด้วยพุทธานุภาพ ในเวลาจบคาถา ได้เป็น
พระโสดาบัน ได้ยืนอยู่ตรงหน้าพระคันธกุฎี. มารดาของทารกนั้นไม่เห็น
บุตรจึงถามอา เมื่ออาเขาไม่บอกความเป็นไปของบุตรนั้น จึงไปค้น
หาในที่นั้น ๆ คิดว่า เขาเล่าลือว่าพระพุทธเจ้าทรงรู้อดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน ถ้ากระไรเราเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามความเป็นไป
แห่งบุตรของเรา จึงได้ไปยังสำนักของพระศาสดา. พระศาสดาทรงปกปิด
ทารกนั้นด้วยพระฤทธิ์ ทรงถูกนางถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า-
พระองค์ไม่เห็นบุตรของข้าพระองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความ

เป็นไปของเขาบ้างไหม พระเจ้าข้า. จึงตรัสธรรมว่า
บุตรทั้งหลายย่อมไม่มีเพื่อความเป็นผู้ต้านทาน บิดา
ก็ดี เผ่าพันธุ์ก็ดี ย่อมไม่มีเพื่อความเป็นผู้ต้านทาน
ความต้านทานในหมู่ญาติ ย่อมไม่มีแก่ผู้อันความตายถึง
ทับแล้ว.

นางได้ฟังธรรมนั้นแล้วได้เป็นพระโสดาบัน. ทารกได้บรรลุพระ-
อรหัต. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทาน1ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ เสด็จมายัง
สำนักของเรา ซึ่งกำลังชำระเงื้อมเขาอยู่ที่ภูเขาสูงอัน
ประเสริฐ เราเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จเข้ามา ได้ตกแต่ง
เครื่องลาดแล้ว ได้ปูลาดอาสนะดอกไม้ถวายแด่พระ-
โลกเชษฐ์ผู้คงที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
ผู้นายกของโลก ประทับนั่งบนอาสนะดอกไม้ทรงทราบ
คติของเรา ได้ตรัสความเป็นอนิจจังว่า สังขารทั้งหลาย
ไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความที่สังขารเหล่านั้นสงบระงับ
เป็นสุข พระสัพพัญญูเชษฐบุรุษของโลก เป็นพระผู้
ประเสริฐ ทรงเป็นนักปราชญ์ ตรัสดังนี้แล้ว เสด็จเหาะ
ขึ้นไปในอากาศ ดังพระยาหงส์ในอัมพร เราละทิฏฐิของ
ตนแล้ว เจริญอนิจจสัญญา ครั้นเราเจริญอนิจจสัญญาได้
วันเดียว ก็ทำกาละ ณ ที่นั้นเอง เราเสวยสมบัติทั้งสอง


1. ขุ. อ. 32/ข้อ 21.

อันกุศลมูลกระตุ้นเตือนแล้ว เมื่อเกิดในภพที่สุด เกิดใน
โสปากกำเนิด (เกิดและเติบโตในป่าช้า) เราออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต เรามีอายุได้ 7 ปีโดยกำเนิด ได้
บรรลุพระอรหัต. เราปรารภความเพียรมีใจแน่วแน่ ตั้งมั่น
อยู่ในศีล ยังพระมหานาคให้ทรงยินดีแล้ว ได้อุปสมบท.
ในกัปที่ 94 แต่ภัทรกัปนี้ ด้วยผลแห่งธรรมที่เราได้ทำไว้
ในกาลนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
อาสนะดอกไม้. ในกัปที่ 94 แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เจริญ
สัญญาใดไว้ในกาลนั้น เราเจริญสัญญานั้นอยู่ ได้บรรลุ
ถึงความสิ้นอาสนะแล้ว. คุณวิเศษเหล่านี้คือปฏิสัมภิทา 4
. . .ฯลฯ. . . คำสอนพระพุทธเจ้าเราได้ทำตามแล้ว.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคลายพระฤทธิ์. ฝ่ายมารดาก็ได้
เห็นบุตร ร่าเริงดีใจ ได้ฟังว่าบุตรนั้นเป็นพระขีณาสพ จึงให้บวชแล้ว
ก็ไป ท่านโสปากะนั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดาซึ่งกำลังเสด็จจงกรมอยู่ในร่ม
เงาแห่งพระคันธกุฎี ถวายบังคมแล้วจงกรมตามเสด็จ. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประสงค์จะทรงอนุญาตอุปสมบทแก่เธอ จึงมีพระดำรัสถามปัญหา 10 ข้อ
โดยมีอาทิว่า เอกํ นาม กึ อะไรชื่อว่าหนึ่ง ดังนี้.
ฝ่ายท่านโสปากะนั้น ถือเอาพระพุทธประสงค์ เทียบเคียงกับพระ-
สัพพัญญุตญาณ ทูลแก้ปัญหาเหล่านั้น โดยนัยมีอาทิว่า สพฺเพ สตฺตา
อาหารฏฺฐิติกา
สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ดังนี้. ด้วย เหตุนั้นนั่นแล
ปัญหาเหล่านั้นจึงชื่อว่า กุมารปัญหา. พระศาสดาทรงมีพระทัยโปรดปราน
เพราะการพยากรณ์ปัญหาของเธอ จึงทรงอนุญาตการอุปสมบท, ด้วย

เหตุนั้น อุปสมบทนั้นจึงชื่อว่า ปัญหพยากรณอุปสมบท อุปสมบทด้วย
การพยากรณ์ปัญหา. พระเถระครั้นประกาศประวัติของตนดังนี้แล้ว เมื่อ
จะพยากรณ์พระอรหัตผล จึงได้กล่าวคาถา1เหล่านี้ว่า
เราได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่านรชน เป็นอุดม
บุรุษ เสด็จจงกรมอยู่ในร่มเงาแห่งพระคันธกุฎี จึงเข้า
ไปเฝ้าพระองค์ ณ ที่นั้น แล้วถวายบังคม. เราห่มจีวร
เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือจงกรมตามพระองค์ผู้ปราศ-
จากกิเลสธุลี ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง. ลำดับนั้น พระองค์
ได้ตรัสถามปัญหาเรา เราเป็นผู้ฉลาดรอบรู้ปัญหาทั้งหลาย
เป็นผู้ไม่มีความหวาดหวั่น และไม่กลัว ได้พยากรณ์
(ปัญหา) แด่พระศาสดา เมื่อเราวิสัชนาปัญหาแล้ว พระ-
ตถาคตทรงอนุโมทนา ทรงตรวจดูหมู่ภิกษุแล้ว ได้ตรัส
เนื้อความนี้ว่า โสปากภิกษุนี้ บริโภคจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัย ของชาวอังคะและมคธะ
เหล่าใด ก็เป็นลาภของชาวอังคะและมคธะเหล่านั้น. อนึ่ง
ได้ตรัสว่า เป็นลาภของชาวอังคะและมคธะ ที่ได้ต้อนรับ
และทำสามีจิกรรมแก่โสปากภิกษุ. ดูก่อนโสปากะ ตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไป ให้เธอเข้ามาหาเราได้ ดูก่อนโสปากะ
การวิสัชนาปัญหานี้ จงเป็นการอุปสมบทของเธอ. เรามี
อายุได้ 7 ปีแต่เกิดมาก็ได้อุปสมบท ยังคงทรงร่างกายอันมี
ในชาติสุดท้ายนี้ไว้น่าอัศจรรย์ความที่พระธรรมเป็นธรรมดี.


1. ขุ. เถร 26/ข้อ 364.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาสาทฉายายํ ได้แก่ ในร่มเงาแห่ง
พระคันธกุฎี.
บทว่า วนฺทิสฺสํ แปลว่า ถวายบังคมแล้ว.
บทว่า สํหริตฺวาน ปาณโย ได้แก่ การทำมือทั้งสองให้บรรจบกัน
โดยอาการดอกบัวตูม. อธิบายว่า การทำอัญชลี.
บทว่า อนุจงฺกมิสฺสํ ความว่า เราเดินจงกรมโดยการเดินตามไป
เบื้องพระปฤษฎางค์ แห่งพระศาสดาผู้ทรงจงกรมอยู่.
บทว่า วิรชํ แปลว่า ปราศจากธุลีมีราคะเป็นต้น.
บทว่า ปญฺเห ได้แก่ กุมารปัญหา.
บทว่า วิทู ได้แก่รู้สิ่งที่ควรรู้ อธิบายว่า รู้สิ่งทั้งปวง. ชื่อว่าผู้
ไม่สะดุ้งและไม่กลัว เพราะเราละความสะดุ้งและความกลัวที่เกิดขึ้นว่า
พระศาสดาจักตรัสถามเราดังนี้ ด้วยพระอรหัตมรรคแล้ว จึงพยากรณ์.
บทว่า เยสายํ โยคว่า เยสํ องฺคมคธานํ อยํ โสปาโก
โสปากะบริโภคจีวร ฯลฯ ของชาวอังคะและมคธะเหล่าใด.
บทว่า ปจฺจยํ ได้แก่ คิลานปัจจัย.
บทว่า สามีจึ ได้แก่ กระทำสามีจิกรรม มีการหลีกทางให้
และการพัดวีเป็นต้น.
อักษรในบทว่า อชฺชทคฺเค นี้ กระทำการเชื่อมบท. อธิบายว่า
กระทำวันนี้ให้เป็นต้นไป คือจำเดิมแต่วันนี้. บาลีว่า อชฺชตคฺเค ดังนี้
ก็มี อธิบายว่า กระทำกาลมีในวันนี้ให้เป็นต้นไป.
บทว่า ทสฺสนาโยปสงฺกม ความว่า เธออย่าคิดว่า มีชาติต่ำ หรือ
อ่อนวัยกว่า จงเข้าไปพบเรา.

บทว่า เอสา เจว มีวาจาประกอบความว่า ก็พระศาสดาได้
ตรัสว่า ข้อที่เธอเทียบเคียงกับสัพพัญญุตญาณของเราแล้ว การทำการแก้
ปัญหานี้นั่นแล จงเป็นอุปสมบทของเธอ. บาลีว่า ลทฺธา เม อุปสมฺ-
ปทา
เราได้อุปสมบทแล้ว ดังนี้ก็มี. สำหรับอาจารย์นางพวกที่กล่าวว่า
ลทฺธาน อุปสมฺปทํ ได้อุปสมบทแล้วดังนี้นั้น . บทว่า สตฺตวสฺเสน
ได้แก่ โดยปีที่ 7. อีกอย่างหนึ่ง พึงเดิมคำที่เหลือว่า สตฺตวสฺเสน
หุตฺวา
เป็นผู้มีอายุ 7 ปี. ส่วนคำที่ไม่ได้กล่าวไว้ในที่นี้ ง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาโสปากเถรคาถาที่ 4

5. สรภังคเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระสรภังคเถระ


[365] เราหักต้นแขมด้วยมือทั้งสองทำกระท่อมอยู่ เพราะ-
ฉะนั้น เราจึงมีชื่อโดยสมมติว่า สรภังคะ วันนี้เราไม่
ควรหักต้นแขนด้วยมือทั้งสองอีก เพราะพระสมณโคดม
ผู้เรืองยศ ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่เราทั้งหลาย. เมื่อก่อน
เราผู้ชื่อว่าสรภังคะ ไม่เคยได้เห็นโรคคืออุปาทานขันธ์ 5
ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น โรคนั้นอันเราผู้ทำตามพระดำรัสของ
พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ได้เห็นแล้ว. พระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี พระ-
เวสสภู พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ
ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระ-
นามว่าโคดม ก็ได้เสร็จไปแล้วโดยทางนั้น. พระพุทธเจ้า
7 พระองค์นี้ ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรง
หยั่งถึงความสิ้นกิเลส เสด็จอุบัติโดยธรรมกาย ผู้คงที่
ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรม คือ
อริยสัจ 4 อันได้แก่ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์
ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทางที่ทุกข์ไม่เป็นไป อันไม่มีที่สุด
ในสงสาร เพราะกายนี้แตก และเพราะความสิ้นชีวิต